วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ม.4 ว 31103

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ม.4 ว 31103

1. อธิบายและทดลองความ สัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
2. สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
3. อภิปรายผลการสืบค้นและประโยชน์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
4. อธิบายและทดลองความ สัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
5. สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
6. อภิปรายผลการสืบค้นและประโยชน์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
7. วิเคราะห์และอธิบายแรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้าระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส
8. อธิบายปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิชชัน ฟิวชัน และความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงาน
9. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์และผลต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
10. อภิปรายผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และนำไปใช้ประโยชน์
11. อธิบายชนิดและสมบัติของรังสีจากธาตุกัมมันตรังสี
12. อธิบายการเกิดกัมมันตภาพรังสีและบอกวิธีการตรวจสอบรังสีในสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์ ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 13. ทดลองและอธิบายสมบัติ ของคลื่นกล และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราเร็ว ความถี่และความยาวคลื่น14. อธิบายการเกิดคลื่นเสียงบีตส์ของเสียง ความเข้มเสียง ระดับความเข้มเสียง การได้ยินเสียง คุณภาพเสียง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
15. อภิปรายผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และการเสนอ วิธีป้องกัน
16. อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ และการป้องกันอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
17.ตั้งคำถามที่อยู่บนพื้น ฐาน ของความรู้และความเข้าใจ ทางวิทยาศาสตร์ หรือความสนใจ หรือจากประเด็นที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ที่สามารถทำการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้18.สร้างสมมติฐานที่มีทฤษฎีรองรับ หรือคาดการณ์ สิ่งที่จะพบ หรือสร้างแบบจำลอง หรือสร้างรูปแบบ เพื่อนำไปสู่ การสำรวจตรวจสอบ
19. ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่ต้องพิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยอื่น ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และจำนวนครั้งของการสำรวจ ตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลที่มีความเชื่อมั่นอย่างเพียงพอ
20.เลือกวัสดุ เทคนิควิธี อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสังเกต การวัด การสำรวจตรวจสอบอย่างถูกต้องทั้งทางกว้างและลึกในเชิงปริมาณและคุณภาพ
21.รวบ รวมข้อมูลและบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบอย่างเป็นระบบถูกต้อง ครอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสมหรือความผิดพลาดของข้อมูล
22.จัดกระทำข้อมูล โดยคำนึงถึงการรายงานผลเชิงตัวเลขที่มีระดับความถูกต้องและนำเสนอข้อมูลด้วยเทคนิควิธีที่เหมาะสม23. วิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายข้อมูล และประเมินความสอดคล้องของข้อสรุป หรือสาระสำคัญ เพื่อตรวจสอบ กับสมมติฐานที่ตั้งไว้
24.พิจารณา ความน่าเชื่อถือ ของวิธีการและผลการสำรวจตรวจสอบ โดยใช้หลักความคลาดเคลื่อน ของการวัดและ การสังเกต เสนอแนะการปรับปรุงวิธีการสำรวจตรวจสอบ
25. นำผลของการสำรวจตรวจสอบที่ได้ ทั้งวิธีการ และองค์ความรู้ที่ได้ไปสร้าง คำถามใหม่ นำไปใช้แก้ปัญหา ในสถานการณ์ใหม่และในชีวิตจริง
26.ตระหนัก ถึงความสำคัญ ในการที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบการอธิบาย การลงความเห็น และการสรุปผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่นำเสนอต่อสาธารณชนด้วยความถูกต้อง
27. บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างมีเหตุผล ใช้พยานหลักฐานอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อเติม เพื่อหาหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และยอมรับว่าความรู้เดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์ พยานใหม่เพิ่มเติมหรือโต้แย้งจากเดิม ซึ่งท้าทายให้มีการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง อันจะนำมาสู่ การยอมรับเป็นความรู้ใหม่28. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่น

คำอธิบายรายวิชาว31103 วิทยาศาสตร์ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 80 ชั่วโมง จำนวน 2.0หน่วยกิต

ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง การกระจัด เวลา อัตราเร็ว อัตราเร่ง การเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม และการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนที่ของวัตถุในสนามโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก การใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส คลื่นกล เสียงและสมบัติของเสียง เสียงและการได้ยินเสียง สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ กัมมันตรังสี ไอโซโทป และการใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์รวมถึงผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสำรวจตรวจสอบ การทดลองและอภิปรายสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความสารถในการใช้เทคโนโลยี มุ่งมั่นพัฒนาให้รักชาติ ศาสนา กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู่ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
ว 4.1 ม.4/1-4, ว 4.2 ม.4/1-3, ว 5.1 ม.4/1-9, ว 8.1 ม.4/1-12
รวม 4 มาตรฐาน 28 ตัวชี้วัด



การเคลื่อนที่หนึ่งมิติ
ภาพประจำสัปดาห์

วัน ที่ 26 เดือนกันยายน 1993 นายเดพ มุนเด ไปที่น้ำตกไนแองการา อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้เขาได้ทำเรื่องเสี่ยงตายซึ่งเคยมีคนทำมาแล้ว 4 คน และ ทั้งหมดได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยเขาเข้าไปอยู่ในลูกบอลเหล็ก และปล่อยให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ตามบุญตามกรรมดังรูป จะเห็นน้ำตกอยู่ข้างหน้าลูกบอล ความสูงของน้ำตกประมาณ 48 เมตร เขาไหลลงไปเรื่อยจนถึงขอบของน้ำตกและร่วงไปพร้อมกับน้ำ จากการเสี่ยงตายในครั้งนั้นเขาสามารถรอดชีวิตมาได้ สำหรับนักฟิสิกส์แล้ว เราสามารถหาได้ว่า เขาใช้เวลาเท่าไร ก่อนจะถึงพื้นน้ำด้านล่าง อ่านต่อ

รถ จรวด ปี 1977 นายคิตตี้ โอนีล สามารถทำความเร็วขึ้นมาใหม่เป็นสถิติโลก ด้วยความเร็ว 628 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 3.72 วินาที แต่ก่อนหน้านี้สิบเก้าปี นายบรีดดิ้ง จูเนียร์ สามารถเร่งความเร็วจาก 0 ถึง 72.5 ไมล์ต่อชั่วโมงภายในเวลา 0.04 วินาที โดยใช้เครื่องยนต์จรวดเป็นตัวเร่ง สิ่งที่น่าสนใจก็คือการขับขี่ของใครเฉียดกับนรกมากกว่ากัน กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
ที่มา http://www.rmutphysics.com/


ความเร็วและความเร่งของของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

รูปที่ 1
ให้ vo เป็นอัตราเร็วของ P ที่เคลื่อนที่รอบวงกลม อัตราเร็วของ Q จะเท่ากับองค์ประกอบ (component) ของความเร็วของ P ในแนวดิ่ง นั่นคือ อัตราเร็วของ Q หรืออัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM เป็น vocos หรือ vocos2ft นั่นเอง
ถ้า P มีความเร็วเชิงมุมเป็น เรเดียน/วินาที และเพราะว่า A เป็นรัศมีของวงกลม จากการศึกษาการเคลื่อนที่เป็นวงกลมจะได้ว่า
= vo/R หรือ vo = R
ดังนั้นอัตราเร็วของ SHM = vocos2ft = R cos2ft
สำหรับ อัตราเร่งนั้น เนื่องจาก P เคลื่อนที่เป็นวงกลม จึงมีทิศของความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง และความเร่งของ Q ก็เป็นองค์ประกอบในแนวดิ่งของความเร่งของ P

รูปที่ 2
ถ้า ao เป็นอัตราเร่งของ P
aosin ก็เป็นอัตราเร่งของ Q
เพราะว่า P มีความเร็วเชิงมุมเป็น เรเดียน/วินาที และมีรัศมีเป็น A
จึงได้ว่า ao = w2A
ดังนั้น อัตราเร่งของ SHM = aosin = aosin2ft = 2A sin2ft
ค่า ในการเคลื่อนที่แบบ SHM เรียกว่า ความถี่เชิงมุม (angular frequency) โดยมีความสัมพันธ์กับความถี่ (frequency) ดังนี้
= 2f ข้อสังเกต เมื่อพิจารณาทิศทางของความเร็ว และความเร่งของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM แล้ว จะเห็นว่าปริมาณทั้งสองมีทิศสวนกันเสมอ ทั้งนี้เพราะแรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เสมอ
ที่มา : นายณสรรค์ ผลโภค, นิตยสารเรียนดี ปี 2 ฉบับที่ 3.
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์(Motion of a Projectile) คือการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแนวโค้ง
ใน กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อย่างเสรีด้วยแรงโน้มถ่วงคงที่ เช่น วัตถุเคลื่อนที่ไปในอากาศภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทางเดินของวัตถุจะเป็นรูปพาราโบลา

ข้อควรจำ
สำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์
1) ความเร่งในแนวระดับ (แกน x) = ศูนย์ นั่นคือ vx = คงที่ = ux ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ตรงไหนก็ตาม
พิสูจน์ ไม่มีแรงในแนวแกน X กระทำที่วัตถุ
จาก Fx = max
O = max
ax = 0
จาก vx = ux + axt; ได้ vx = ux
2) ความเร่งในแนวดิ่ง (แกน Y ) = g
พิสูจน์ มีแรงกระทำที่วัตถุคือ w = mg ในทิศดิ่งลงตามแกน Y
จาก Fy = may
mg = may
ay = g ทิศดิ่งลง
3) เวลาที่วัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวโค้ง = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน X = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน Y

ตามรูปข้างบน สมมุติวัตถุวิ่งจาก O ไปตามทางโค้ง (เส้นประ) ถึง A (ทางโค้ง OA)
เงาทางแกน X จะวิ่งจาก O ไปถึง B
เงาทางแกน Y จะวิ่งจาก O ไปถึง C
ดังนั้น tOA = tOB = tOC
4) ความเร็ว v ณ จุดใด ๆ จะมีทิศสัมผัสกับเส้นทางเดิน (เส้นประ) ณ จุดนั้น และ
(1) หาขนาดของ v โดยใช้สูตร

เมื่อ vx = ux = ความเร็วในแนวแกน X
vy = ความเร็วในแกน Y
(2) ทิศทางของ v หาได้โดยสูตร

เมื่อ x = มุมที่ v ทำกับแกน X
5) ณ จุดสูงสุด
vx = ux
vy = 0
หมายเหตุ บางทีเราเรียกวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ว่า "โปรเจกไตล์" และเราเรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่ของโปรเจกไตล์
วิธีคำนวณ
1) ตั้งแกน X ให้อยู่ในแนวระดับ และแกน Y อยู่ในแนวดิ่ง โดยจุดกำเนิด (origin) ต้องอยู่ที่จุดเริ่มต้น
2) แตกเวกเตอร์ทุกค่าคือ ความเร็ว ระยะทาง ให้อยู่ในแนวแกน X และ Y
3) คิดทางแกน X มีสูตรเดียว เพราะ ax = 0 คือ

4) คิดทางแกน Y ใช้สูตรทุกสูตรต่อไปนี้

5) กำหนดว่าทิศทางใดเป็นบวก (+) ทิศตรงข้ามจะเป็นลบ (-) แล้วแทนเครื่องหมาย + และ - ในเวกเตอร์ต่อไปนี้ Sx, Sy, Ux, Uy, Vy, ay สำหรับเวลาเป็นปริมาณสเกลาร์เป็น + เท่านั้น
ปกติ นิยมให้ทิศทางเดียวกับความเร็วต้น (ux และ uy ) เป็นบวก (+)
6) เมื่อคิดทางแกน X และแกน Y ตามข้อ 3),4)และ 5) แล้ว จะได้ 2 สมการ จากนี้ก็แก้สมการทั้งสอง ถ้ายังไม่สามารถแก้สมการได้ให้ใช้ความสัมพันธ์จากรูป ดังนี้

ทั้งรูป (ก) และรูป (ข) ใช้ความสัมพันธ์

เมื่อ y = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน Y
x = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน X
=มุมที่ OA ทำกับแกน X
โปรด สังเกตว่า y ในรูป (ก) เป็น + เพราะอยู่เหนือแกน X และ Y ในรูป (ข) เป็น - เพราะอยู่ใต้แกน X แต่เราใช้ค่า y และ x ที่เป็น + เท่านั้น กับ tan เพราะ น้อยกว่า 90 องศา ( <90 องศา)
ที่มา : นายจำนงค์ ฉายเชิด, นิตยสารเรียนดี ปี 2 ฉบับที่ 6+7.

http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&meta=&aq=7&oq=%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4


กรมอุตุนิยมวิทยาราย งานสภาพอากาศ

พายุ โซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มแดนตากาล็อกอย่างหนักเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำเอากรุงมะนิลาและอีกหกจังหวัดใกล้เคียงกลายเป็นเมืองบาดาลไปแล้วเมื่อวัน เสาร์ที่ผ่านมา บางพื้นที่เจอน้ำท่วมสูงถึง 6 ม. เผยสร้างความเสียหายที่สุดในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ตายไปเกินร้อยแล้ว แถมไร้ที่อยู่อาศัยอีก 280,000 คน รัฐบาลฟิลิปปินส์สั่งช่วยเหลือเร่งด่วนแล้ว ด้านอธิบดีกรมอุตุฯเผยสาเหตุเพราะภาวะโลกร้อน ด้านเมืองไทยฝนกระหนํ่าหลายจังหวัดอ่วม

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน จากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ว่า นายกิลแบร์โต ติโอโดโร รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์ แถลงว่า จากภัยธรรมชาติพายุโซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มกรุงมะนิลาจน ได้รับความเสียหายอย่างหนักในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ของเมืองหลวงของฟิลิปปินส์นั้นจมอยู่ใต้น้ำสูงถึง 6 ม. สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศซึ่งคุ้นเคยอยู่แล้วกับการเผชิญหน้าพายุ ไต้ฝุ่น มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 106 ศพ และสูญหาย อีก 23 คน ประชาชนเกือบ 280,000 คนในกรุงมะนิลาและ 5 จังหวัดใกล้เคียงไร้ที่อยู่อาศัย แต่ก็มีอีก 41,000 คน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว “เป็นน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดเท่าที่ตนเคยประสบมา” รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์กล่าว

รายงานข่าวระบุว่า น้ำท่วมหนักนาน 9 ชั่วโมงในกรุงมะนิลาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้กลายเป็นเมืองบาดาล โดยเฉพาะในย่านชุมชนแออัด ถนนกลายเป็นคลอง ชาวบ้านต้องหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนหลังคา และรอคอยความช่วยเหลือนานกว่า 24 ชั่วโมง ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย กล่าวเรียกร้องให้ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก รัฐบาล ได้กำหนดเส้นตายคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาให้หน่วยกู้ภัยและกองทัพออกปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้ที่ยังติดค้างอยู่บนที่สูง โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ และเรือยาง ออกปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน 12 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในกรุงมะนิลา ขณะที่กองทัพสหรัฐก็สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ กับเรืออีก 6 ลำในปฏิบัติการช่วยเหลือ

แม้ฝนได้หยุดตกไปแล้วเมื่อวัน อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ยังวิตกว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจสูงกว่านี้ เพราะเมื่อน้ำลดลงแล้ว อาจพบศพโผล่ขึ้นมาเพิ่มเติม แล้วเมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ เฮลิคอปเตอร์และเรือกู้ภัยสามารถช่วยเหลือชาวบ้านที่ติดค้างอยู่บนหลังคาได้ แล้วกว่า 5,000 คน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรอคอยความช่วยเหลือด้วยความหิวโหยและกระหายน้ำ แต่บางคนก็ไม่อาจทนรอได้ เช่น ที่เมืองปาซิก ทางฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ซึ่งเป็นหนึ่งในหกพื้นที่ประสบภัย ชาวบ้านยอมฝ่าน้ำลึกระดับคอพากันเดินหอบลูกจูงหลานหนีน้ำท่วมมาจนได้ แม้กระแสน้ำจะเชี่ยวกรากก็ตาม

ด้านนางเกวนโดลิน ปัง ประธานสภากาชาดฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ทีมช่วยเหลือและกู้ภัยพยายามที่จะเข้าไปให้ถึงพื้นที่ประสบภัย แม้เส้นทางหลวงจะถูกตัดขาดเข้าไปไม่ถึงก็ตาม “เรื่องเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อน กล่าวได้ว่า ร้อยละ 80 ของเขตเมืองหลวงกรุงมะนิลาจมอยู่ใต้น้ำ” นอกเหนือจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นแล้ว การสื่อสารทางโทรศัพท์และกระแสไฟฟ้ายังถูกตัดขาดในพื้นที่ประสบภัย แล้วยังกระท่อนกระแท่น ติด ๆ ขาด ๆ ในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงมะนิลา บางโรงพยาบาลใน ฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ได้รับคำสั่งให้อพยพคนไข้หนีน้ำ เช่นเดียวกับท่าอากาศ ยานนานาชาติกรุงมะนิลาได้รับคำสั่งให้ปิดบริการเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเพราะ พายุถล่ม

นายปริสโก นิโล อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงพายุถล่มฟิลิปปินส์จนได้รับความเสียหายอย่าง หนักนี้ ต้องโทษผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากระยะเวลา 9 ชั่วโมงที่ฝนตกลงมาอย่างหนักในวันเดียวนั้น สูงถึง 41.6 ซม. (16 นิ้ว) ทำลายสถิติเดิมที่เคย บันทึกปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ในวันเดียว 33.4 ซม. เมื่อเดือน ก.ค. 2510

ขณะที่ จ.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำป่าไหลหลากออกจากลำห้วยแม่สามแลบ พัดพานายณรงค์ สิริวรากร อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ 1 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ขณะกำลังเดินข้ามลำห้วย จนทำให้จมน้ำเสียชีวิต และมีดินถล่มทับ และพัดพาบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 3 หลัง รวมทั้งมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางถนนสายบ้านแม่สามแลบ-แม่สะเรียง จนถนนถูกตัดหลายจุด รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้

ที่ จ.เพชรบูรณ์ มีฝนตกอย่างหนักพื้นที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขาสูง ใน ต.วังท่าดี และ ต.ท่าด้วง จนเกิดน้ำไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านบริเวณตีนเขา เสียหายกว่า 1,400 ครัวเรือน นอกจากนี้กระแสน้ำยังไหลท่วมพื้นที่ ต.ท่าแดง หมู่ 5 และ หมู่ 12 เสียหายอีกกว่า 300 ครัวเรือน ขณะที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ติดต่อประสานผ่านมาทางจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว

ส่วนที่ จ.จันทบุรี จากปริมาณฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบทำให้น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนนั้น นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผวจ.จันทบุรี ได้ประกาศแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังน้ำไหลเข้าท่วม เก็บสิ่งของไว้ในที่สูง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะทางจังหวัดเตรียมแผนรองรับไว้หมดแล้ว และหากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จ.จันทบุรี โทรศัพท์ 0-3931-2100 ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้าน นายวันชัย อินทนา อายุ 55 ปี อาชีพทำบ่อเลี้ยงปลา เลขที่ 34/1 หมู่ 13 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แจ้งว่าพบจระเข้กำลังไล่กินปลาอยู่ในบ่อ จึงใช้ปืนฉมวกยิงเข้าที่ขาหน้าซ้าย และจับ ตัวไว้ได้มีความยาว 1.5 เมตร น้ำหนัก 10 กิโลกรัม จึงฝากเตือนระวังอันตรายจาก จระเข้ เพราะเกรงว่าอาจจะมีจระเข้อีกหลายตัวหลุดออกจากแหล่งเลี้ยงจระเข้ในช่วง หน้าฝน หรืออาจมีจระเข้อาศัยอยู่ใกล้ ๆ จะทำร้ายได้

ที่ จ.เลย เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วมไร่ นา และบ้านเรือน ได้รับความเสียหายรวม 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง นาด้วง ปากชม และภูหลวง ระดับสูง 50 เซนติเมตร และไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านหนองบัว และหนองบัวน้อย เสียหายประมาณ 100 หลังคาเรือน ถนนสายภูหลวง-หล่มสัก รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้

วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาราย งานสภาพอากาศมาว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ทั่วทุกภาคมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของ จ.แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย นคร ราชสีมา นครสวรรค์ จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

อนึ่ง พายุโซนร้อน “กิสนา” บริเวณทะเลจีนใต้ทางด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาวะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. ที่จะถึงนี้